วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

์Noun Clause

6/10/15
Noun Clauses

            Complex Sentence เป็นประโยคความซ้อนซึ่งประกอบด้วยประโยคย่อย 2 ประโยคขึ้นไป คือ ประโยคใจความหลัก (main clause) ซึ่งเป็นประโยคย่อยอิสระ (independent clause) ซึ่งอยู่ตามลำพังได้ และประโยคใจความรอง (subordinate clause) ซึ่งเป็นประโยคย่อยไม่อิสระ (dependent clause) ซึ่งต้องพึ่งพา main clause โดย subordinate clause ที่เป็นประโยคย่อยที่ขั้นต้นด้วยคำที่ใช้เชื่อมกับ main clause แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ noun clause adjective clause และ adverb clause ซึ่งในครั้งนี้จะอธิบายเรื่อง noun clause ซึ่งหมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำนามในประโยค โดยมีคำนำหน้าเพื่อเชื่อมกับ main clause ซึ่งคำที่ใช้นำหน้าดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ that wh – words และ If/whether (…or not)


            That ใช้นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า (Affirmative statement) เช่น That he will come is certain. (การที่เขาจะมา เป็นสิ่งที่แน่นอน) หรือประโยคปฏิเสธ (Negative statement) เช่น Jane replied that her boss would not be in tomorrow. (เจนตอบว่าเจ้านายของเธอจะไม่อยู่พรุ่งนี้) คำว่า that มีความหมาย การที่ ในกรณีที่ noun clause เป็นประธานของกริยา และใน main clause that มีหมายความว่า ว่า ในกรณีที่ noun clause เป็นกรรมดังในตัวอย่างข้างต้น อีกอย่าง noun clause ที่นำหน้าด้วย that มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวางหน้า noun clause เพียงการเชื่อม noun clause กับ main clause ซึ่ง noun clause ที่นำหน้าด้วย that สามารถทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม ส่วนเสริมของประธาน กรรมตามหลังตามหลังบุพบทและ appositive เช่น
Subject : That the majority of people in developing countries live in dive poverty is true.
Object : The government believes that the national economy will recover soon.  
Subject complement : His ambition was that he wanted to become Prime Minister.
Object of a preposition : The twins are similar in that they love folk songs.
Appositive : The rumor that there is a serpent in the Mae Kong River may be true.
            นอกจากนี้ that ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือความคิดเห็น เช่น agree feel know remember believe forget realize think doubt hope recognize understand เช่น I agree that we should follow him. (ฉันเห็นด้วยว่าพวกเราควรตามเขาไป) She knows that her mom loves her. (หล่อนรู้ว่าแม่ของหล่อนรักหล่อน) ส่วนในการละคำนำหน้า that ที่นำหน้า noun clause ซึ่งทำหน้าที่บางหน้าที่ใน complex sentence สามารถจะละได้ในกรณีต่อไปนี้ คือในกรณีต่อไปนี้ คือในกรณีที่ noun clause เป็น object  เช่น We believe that he told the truth. เมื่อละ that จะได้ We believe that he told the truth. ละกรณีที่ noun clause เป็น Subject complement เช่น The reason is that he speak English fluently. เมื่อละ that จะได้ The reason is he speak English fluently. และละในกรณีที่ noun clause ตามหลังคำคุณศัพท์ เช่น I am sure that he can get a good job. เมื่อละ that จะได้ I am sure he can get a good job. ซึ่งในกรณีที่ noun clause เป็นประธาน ไม่สามารถละ that ได้
            ในการใช้ that เป็นคำนำหน้า มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ดังต่อไปนี้ ได้แก่ appositive noun clause จะนำหน้าด้วย that เท่านั้นและไม่มีการละ that เช่น The news that she won the beauty contest was published in all of the daily newspaper. ในส่วนของ noun clause ที่นำหน้าด้วย that ที่ใช้ตามหลังคำบุพบทมีจำนวนน้อยโดยที่คำบุพบทที่จะตามด้วย that มักตามหลังคำคุณศัพท์หรือกริยาที่แสดงความเหมือนกันหรือต่างกัน เช่น similar alike different differ ตัวอย่างเช่น John and his brother are alike in the they enjoy folk music. ใน noun clause ที่นำหน้าด้วย that ไม่สามารถใช้เป็นกรรมรองหรือส่วนเสริมของกรรมได้ และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้โดยใช้ impersonal pronoun “it” นำหน้าประโยคแล้วแล้วนำ noun clause ไปไว้ท้ายประโยคได้ เช่น That he showed up at the party was a great surprise. เมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างจะได้ It was a great surprise that he showed up at the party.
            การใช้คำนำหน้า wh-words ใน noun clause เป็นการใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามข้อมูลโดยประกอบไปด้วย how what which where when why who whose และ whom เช่น I doubt why you want statistical figures. ซึ่งมีหน้าที่อยู่ในตำแหน่งคำนามในประโยคได้ทุกตำแหน่ง ยกเว้น appositive โดย noun clause ที่นำหน้า wh-words มีหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
Subject : What he did was a serious mistake.
Object : She told me how I could raise more money for charity.  
Indirect object : The man enjoyed explaining his theory to whoever was interested in it.
Object of a preposition : The question of when the election will be held will be answered by the Election Committee tomorrow.
Subject complement : You are what you eat.
Object complement :  People call him whatever they like.
            Wh-words ที่ใช้นำหน้า noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause ดังนี้ who whoever whom whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause เช่น I want to know who he has chosen to marry. whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบทและส่วนเสริมของประธาน เช่น I asked whose money was stolen. what ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม ส่วนเสริมของประธานในประโยค เช่น I’m afraid of what will happen after that. which, whichever มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรม เช่น I don’t know which brand is worth buying. where when why  และ how ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ เช่น where และ wherever บอกสถานที่ เช่น Where he will stay has yet to be decided. when และ whenever จะใช้บอกเวลา เช่น You must find out when he is due to arrive at the airport. why บอกสาเหตุหรือเหตุผล เช่น Why he went to China was not know. และ how ทำหน้าที่บอกกิริยาอาการ เช่น How he was involved in the scandal needs to be investigated.
            If / Whether (… or not) ที่ใช้นำหน้า noun clause ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามว่าใช่หรือไม่ซึ่ง If ใช้ได้เฉพาะนำหน้า noun clause ที่เป็นกรรมเท่านั้นส่วน whether ใช้ได้ทุกรณี ตัวอย่างเช่น I wanted to know if/whether I could accompany him. ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่ว่า ในการใช้ whether ใน noun clause นั้นจะมี or not ตามหลังทันที ต่อท้ายประโยคหรือไม่มีก็ได้แต่ if ไม่สามารถมี or not ตามหลังทันทีได้ เช่น I wonder whether or not the weather will be fine on the day of our departure or not.
            จะเห็นได้ว่า noun clause เป็นอนุประโยคที่ทำหน้าที่คล้ายกับคำนาม ซึ่งทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธานของกริยา (Subject) เป็นกรรมของกริยา (Object) เป็นกรรมของบุพบท (Object of a preposition) เป็นส่วนสัมบูรณ์ของกริยา (Complement) และเป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น (Appositive) ซึ่งในประโยค noun clause ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย that และ wh-words ซึ่งประกอบไปด้วย how what which where when why who whose whom และ If / Whether (… or not) ซึ่งในการใช้ noun clause นั้นสามารถใช้สื่อสารข้อความที่มีรายละเอียดการอธิบายหรือขยายความที่อยู่ในข้อความที่เป็นประโยคเดียวกัน ซึ่งไม่อาจใช้คำนามเพียงคำเดียวหรือกลุ่มคำนามได้ โดยใช้รูปของประโยคอีกประโยคหนึ่งที่มีภาคประธานและภาคแสดงที่มีลักษณะเหมือนประโยคย่อย ที่ซ้อนอยู่ภายใน โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคใจความหลัก ทำให้ข้อความที่ต้องการสื่อสารมีใจความที่สมบูรณ์มากขึ้นสำหรับการสื่อสารที่ใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือการเขียนก็ตาม


  

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น