วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

If – Clause

22/09/15
If – Clause

            Adverbial Clause หมายถึงอนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนกับคำกริยาวิเศษณ์ อาจอยู่ในตำแหน่งหน้าประโยคหรือหลังประโยคก็ได้ ประโยคเหล่านี้อาจแบ่งตามหน้าที่ว่า ระบุเวลา เหตุผล สถานที่ เงื่อนไข และลักษณะหรือวิธีการ ซึ่ง If – Clause ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Adverbial Clause มีอีกชื่อหนึ่งว่า Conditional Sentence ซึ่งหมายถึงประโยคเงื่อนไข ใช้เพื่อต้องการบอกกล่าวถึงข้อเท็จจริง เพื่อแสดงเงื่อนไขว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ก็จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา หรือเป็นการสมมุติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งในประโยคประกอบด้วยอนุประโยค 2 ประโยครวมกัน และเชื่อมด้วย conjunction “if” ซึ่งประโยคที่นำหน้าด้วย if เป็น dependent clause เป็นอนุประโยคแสดงเงื่อนไขเรียกว่า if-clause และประโยคที่แสดงผลเงื่อนไขนั้นเป็น independent clause เรียกว่า main clause ซึ่ง If – Clause จะแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่  Real Conditionals และ Unreal Conditionals แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ TYPE ONE TYPE TWO และ TYPE THREE นอกจากนี้ยังมีการละ IF และคำที่สามารถแทน If ได้อีกด้วย


             Real Conditionals เป็นประโยคเงื่อนไขที่มีความเป็นไปได้สูง ซึ่งประกอบไปด้วย ประโยคเงื่อนไขที่เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งประโยคจะมีโครงสร้าง If + Simple Present, Simple Present (If + v.1, v.1) เช่น If water is heated, it boils. ประโยคเงื่อนไขที่เป็นเหตุการณ์ที่ทำเป็นกิจวัตร หรือเป็นนิสัยที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีตหรือตอนปัจจุบัน ซึ่งในประโยคอาจจะใช้ when ever แทน If ได้ และประโยคจะประกอบไปด้วยโครงสร้าง If + Simple Present, Simple Present (If + v.1, v.1) หรือ If + Simple Past, Simple Past (If + v.2, v.2) เช่น She studied in the library if her went with her. ประโยคเงื่อนไขที่อ้างถึงจากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อีกเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นตามมา หรือถ้าเหตุการณ์หนึ่งไม่เกิดขึ้น อีกเหตุการณ์หนึ่งจะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งในประโยคนี้มีโครงสร้างเป็น If + modal verb + Simple Present, modal verb + Simple Present (If + modal + v.1, modal + v.1) หรือ If + Simple Past, Simple Past (If + v.2, v.2) เช่น If we can clean up the pollution in Sansab canal, we can clean up all of the canals in Thailand. และประโยคเงื่อนไขที่พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตแต่พูดถึงผลที่ตามมาในอนาคต หรืออาจจะใช้ในกรณีที่เป็นประโยคคำสั่ง คำถาม หรือ คำแนะนำ ซึ่งในประโยคจะประกอบไปด้วยโครงสร้าง If + Simple Present, Simple Future (If + v.1, will + v.1) เช่น If it rains,  I will stay home. 
            Unreal Conditionals เป็นประโยคเงื่อนไขที่มีความเป็นไปได้น้อยโดยคำนึงถึงช่วงเวลาปัจจุบัน หรือเป็นไปไม่ได้เลย เป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว โดยคำนึงถึงเวลาในอดีต ซึ่งประกอบไปด้วยประโยคเงื่อนไขที่เป็นการตั้งข้อสันนิษฐาน ในสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย หรือเป็นไปได้แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะทำหรือไม่ หรือเป็นประโยคที่เป็นเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้เกิดบางสิ่งที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ซึ่งโครงสร้างของประโยคประกอบไปด้วย If + Simple Past, would + Simple form (If + v.2, would + v.1) เช่น If I had money , I would go abroad. และประโยคเงื่อนไขที่เป็นการพูดถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีตโดยผู้พูดพูดตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในอดีตที่ไม่สามารถกลับไปแก้ไขมันได้อีกซึ่งประโยคแบบนี้ใช้พูดเกี่ยวกับอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ว่าถ้าเกิดขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งโครงสร้างประโยคประกอบไปด้วย  If + Past Perfect, would + have + v.3 (If + had + v.3, would + have + v.3) เช่น If you had gone to the party last night, you would have met your girlfriend.
            แต่ส่วนใหญ่ได้แบ่ง If – Clause เป็น 3 แบบคือ TYPE ONE เป็นการสมมุติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคตแสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ (possible condition) ซึ่งโครงสร้างของประโยคประกอบไปด้วย If + Present Simple , Future Simple (If + v.1, will + v.1) เช่น If  you don't hurry,  you  will miss the train. TYPE TWO เป็นการสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย (doubt) แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ (impossible condition) ซึ่งโครงสร้างของประโยคประกอบไปด้วย If + Past Simple, would + v.1 เช่น If I were you, I would forgive him. และ TYPE THREE เป็นการสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต ซึ่งโครงสร้างของประโยคประกอบไปด้วย If + Past Perfect , would + have + v.3 หรือ If + Past Perfect , would + v.1 NOW เช่น If you had studied harder last semester , you would have passed the final exam. และ If I had studied harder when I was young, I would have a better job now.
            ในประโยคเงื่อนไขที่ได้กล่าวมาข้างต้น นอกจากเขียนประโยคตามโครงสร้างที่กำหนดให้แต่ละชนิดแล้ว ยังสามารถตัดหรือละ IF ทิ้งได้อีกด้วย โดยเริ่มจาก TYPE ONE สามารถตัดหรือละ IF ทิ้งได้โดยแทน IF ด้วย Whenever หรือ When ได้เลยโดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน เช่น When I go to work, I get up at six. หรือ Whenever I got to work, I get up at six. หรือสามารถแทน IF ด้วย should ได้โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนเหมือนกัน โดย should ต้องอยู่ข้างหน้าเท่านั้น เอามาวางไว้ตรงกลางไม่ได้ เช่น Should you see him, please tell him to call me. การตัดหรือละ IF สำหรับ TYPE TWO สามารถละ IF ได้โดยย้าย were มาไว้ข้างหน้าประโยค แต่ใช้ได้สำหรับ Past Simple ที่มีกริยาเป็น verb to be เท่านั้น เช่น If I were rich, I wouldn't work. เมื่อละ If แล้วจะได้เป็น Were I rich, I wouldn't work. และสำหรับการตัดหรือละ IF ใน TYPE THREE เราสามารถทำได้โดยการละหรือตัด IF ทิ้งแล้วนำ Had มาวางไว้ข้างหน้าประโยค ตัวอย่างเช่น If we hadn't read, we wouldn't have passed the exam. เมื่อละ If แล้วจะได้เป็น Hadn't we read, we wouldn't have passed the exam.
            ในการใช้ประโยคเงื่อนไขนั้น นอกจากจะใช้ If ขึ้นต้นประโยคแล้ว ยังสามารถใช้คำอื่นๆซึ่งเทียบเท่ากับ If ได้อีกด้วย เช่น Unless ซึ่งมีความหมายเหมือน if... not หรือ except that.... แปลว่าเว้นไว้เสียแต่ว่า....  การใช้รูปกริยาในประโยคเงื่อนไขที่ใช้ unless   จะใช้ในลักษณะเช่นเดียวกับ Type one ซึ่งโครงสร้างของประโยคประกอบไปด้วย Unless + Present Simple, will + Present Simple (Unless + v.1, will + v.1) ตัวอย่างเช่น I won't pay unless you provide the goods immediately. ซึ่งมีความหมายเท่ากับ If you don't provide them, I won't pay  และสามารถพบการใช้ สำนวนต่างๆใน TYPE TWO ที่ใช้แทน If ได้แก่ supposing, what if....? + v.2 หมายถึง “สมมุติว่า” เช่น  Supposing I were a millionaire, What if we built another house? สำนวน if only + v.2 หมายถึง “หากว่า” เช่น If only I had 10 hands. สำนวนที่ใช้Wish แสดงความปรารถนา ซึ่งหลัง to wish + v.2 หมายถึง “ประสงค์จะ....” เช่น I wish I knew the president! สำนวน would rather + subject + V2 หมายถึง “อยากจะ....”  เช่น I'd rather my girlfriend called me now! สำนวน It's (high) time +V2 หมายถึง “ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ควรจะ...” เช่น It's time you paid the meal! และสำนวน  as if, as though.... หมายถึง ราวกับว่า เช่น He acts as if he were a prince.
            จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า If – Clause เป็นประโยคเงื่อนไขเป็นหนึ่งใน Adverbial Clause ที่ประกอบไปด้วยอนุประโยค 2 ประโยค คือ dependent clause ที่ขึ้นต้นด้วย If และ Independent clause หรือ main clause ซึ่งประโยคลักษณะนี้ใช้บอกข้อเท็จจริง เพื่อแสดงเงื่อนไข ว่าหากเกิดเหตุการณ์นี้ จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา  เป็นเหตุการณที่กำลังจะเกิดขึ้นจริงในอนาคต เป็นการสมมุติสิ่งที่ไม่มีวันเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือเป็นประโยคที่พูดถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริงในอดีต ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 3 แบบหลักๆแต่ละแบบมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น TYPE ONE มีโครงสร้างเป็น If + v.1, will + v.1 TYPE TWO มีโครงสร้างเป็น If + v.2, would + v.1  และ TYPE THREE มีโครงสร้างเป็น If + had +  v.3, would + have + v.3 โดยที่ If สามารถคั่นกลางได้โดยไม่ต้องใส่ comma นอกจากนี้ยังมีคำที่สามารถใช้แทน If  ได้อีก เช่น supposing, unless, if only… เป็นต้น ซึ่งหากเรามีความเข้าใจโครงสร้างและรูปแบบของมัน เมื่ออ่านบทความหรือข่าวภาษาอังกฤษที่มีประโยคในรูปแบบเหล่านี้ ก็จะสามารถเข้าใจความหมายที่เจ้าของหรือผู้เขียนที่ต้องการจะสื่อได้ดียิ่งขึ้น










ที่มา :


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น