วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Adjective Clause

Adjective Clause

            Adjective Clause ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้า โดยอาจใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า โดยอาจใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนามที่มาข้างหน้า


EX.  The snake which is lying near the horse stable has killed the cow.
                     เป็น adj. clause ขยายเพื่อให้ชี้ให้เห็นว่างูตัวไหน
1. คำนำหน้า Adjective Clause
            Adjective Clause จะมี Relative Pronoun หรือ Relative Adverb นำมาข้างหน้า ดังนั้น Adjective Clause จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Relative Clause"
            คำที่ใช้เชื่อม Adjective Clause กับคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้ามีดังนี้
Relative Pronoun
 - who, whom, whose : ใช้แทนคน
- which : ใช้แทนสัตว์และสิ่งของ
- that : ใช้แทนทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ


ข้อสังเกต
1. Adjective Clause ที่นำหน้าด้วย that ซึ่งทำหน้าที่เป็น Object of preposition จะต้องไม่ใช่บุพบทหน้า that แต่สามารถใช้คำบุพบทตามหลังคำที่ใช้กับคำบุพบทใน Adjective Clause ได้
2. เมื่อใช้ that นำหน้า Adjective Clause จะไม่ใช้เครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่าง Adjective Clause กับนามที่ขยาย
3. คำบุพบทสามารถวางไว้หน้า whom และ which ได้หากทั้งสองคำทำหน้าที่เป็น Object of preposition ใน Adjective Clause

- where : ใช้แทนคำนามที่บอกสถานที่ ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน Adjective Clause (มาจาก preposition + which)


- when : ใช้แทนคำนามที่บอกเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน Adjective Clause


- why : ใช้แทนคำนามที่บอกเหตุผล ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน Adjective Clause


2. ประเภท Adjective Clause
            2.1 Defining Clause : ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาขยายข้างหน้าว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน จะไม่ใช้เครื่องหมายใดๆ คั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause ที่ตามมา เช่น
The group of foreigners who visited our university was from Hawaii.
            2.2 Non - Defining Clause : ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้าโดยมี comma คั่นระหว่างคำนามกับ Adjective Clause ที่ตามมา เช่น
His house, which is on Sukhumvit Road, is a two-story house.
            2.3 Sentential Relative Clause : ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มทั้งข้อความไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และใช้ which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main clause ที่มาข้างหน้า เช่น
Jame give him a smile, which surprised him a great deal.
3. การลดรูป Adjective Clause
            คำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่างๆได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม (Phrase) ดังนี้
            3.1 Appositive Noun Phrase
            ใน Adjective Clause ที่มี who, which และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกเมื่อลดรูปแล้วก็จะกลายเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า Appositive เช่น
Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year.
เมื่อลดรูปแล้ว : Chakarin, my thesis adviser, will retire next year.
            3.2 Propositional Phrase
            ใน Adjective Clause ที่มี who, which และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ซึ่งถ้าตัดคำกริยาออกไปแล้วเหลือแต่คำบุพบท แต่ยังมีความหมายเหมือนเดิม สามารถตัดคำกริยาออกได้ เช่น
The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fan in Thailand.
เมื่อลดรูปแล้ว : The football player from Brazil received a warm welcome from his fan in Thailand.
           
            3.3 Infinitive Phrase
            ใน Adjective Clause ที่มี who, which และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้หากข้างหลังมีกริยาในรูปของ BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้วก็จะกลายเป็น Infinitive Phrase เช่น
He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday.
เมื่อลดรูปแล้ว : He is the first person to be blamed for the violence yesterday.
            3.4 Paticipail Phrase
            ใน Adjective Clause ที่มี who เป็นประธานสามารถลดรูปได้หากข้างหลัง who มีกริยาแท้ สามารถลดรูปได้โดยตัด who ออกและเปลี่ยนกริยาให้เป็น Present Participle (v.ing) ซึ่งเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็น Present Participle Phrase เช่น
The school students who visited the national museum were very excited.
เมื่อลดรูปแล้ว : The school student visiting the national museum were very excited.
            ใน Adjective Clause ที่มี who และ which เป็นประธานสามารถลดรูปได้ถ้าหากหลัง who และ which ตามหลังด้วยกริยาในรูป Passive form (BE + Past Participle) สามารถลดรูปโดยตัด who / which และ BE ออกและเหลือแต่กริยาที่อยู่ในรูปของ Past Participle เมื่อลดรูปแล้วก็จะได้เป็น Past Participle Phrase เช่น
The money which was lost during the trip was returned to its owner.
เมื่อลดรูปแล้ว : The money lost during the trip was returned to its owner.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น