วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อบรมเชิงปฏิบัติการ วันที่ 29 ตุลาคม 2558 (ช่วงบ่าย)

29/10/15
อบรมเชิงปฏิบัติการ 
เรื่อง เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันที่ 29 ตุลาคม 2558 (ช่วงบ่าย)

            หลังจากที่ได้อบรมในช่วงเช้า ซึ่งเป็นการสัมมนาเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันที่ต้องให้ผู้เรียนมีมากกว่าทักษะทางด้านภาษา ของอาจารย์ 3 ท่านและการบรรยายถึงการความสำคัญของภาษาและการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ระหว่างในการอบรมช่วงบ่ายนี้ จะเป็นการบรรยายต่อของผศ.ดร. ศิตา ที่ว่าด้วยการสอนคำศัพท์ และ การออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ


            ในการสอนคำศัพท์ ครูจะสอนอย่างไรให้ผู้เรียนเหล่านั้นมีความรู้ในเรื่องของคำศัพท์ ในรูปแบบแรกอาจจะสอนเป็นเรื่องราวที่มาของศัพท์ การท่องจำ หรืออาจจะให้กระดาษและให้จดคำศัพท์เท่าที่รู้ โดยอาจขึ้นต้นคำศัพท์มาสักคำ ให้นึกคำศัพท์ขึ้นต้น A-Z และกำหนดหมวดหรือสถานที่อะไรก็ได้ เช่น ศัพท์อยู่ในห้องเรียน หรือในรูปแบบครูควรใช้จิตวิทยาหรือการเสริมแรงเข้ามาช่วย เช่น การแบ่งเป็นฝ่ายมีแพ้ มีชนะ มีการให้รางวัลเพื่อจูงใจผู้เรียนให้อยากเรียนรู้คำศัพท์  เกมที่เป็นลักษณะของลักษณะเรื่องราวจริงๆ เช่น เกมเศรษฐี เกมทอยลูกเต๋า ซึ่งผู้เรียนจะรู้สึกสนุก ชอบ แต่ควรหยุดเล่นเมื่อถึงจุดที่อยากเล่นมากที่สุด ประมาณ 3 รอบจึงหยุดเล่น หากหยุดหลังจากนั้นผู้เร็วจะเบื่อหน่ายและไม่รู้สึกอยากเล่นต่อ แต่หากหยุดตามช่วงเวลาดังกล่าวเด็กจะอยากเล่นอีกและสามารถนำเกมนั้นมาใช้ซ้ำได้อีกครั้ง เมื่อรู้ศัพท์แล้วก็จะต้องสอนคำศัพท์สามารถสอดแทรกวัฒนธรรมเข้าไปได้ด้วย
            ในการออกเสียง ท่านได้กล่าวว่า คนไทยอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นที่จะต้องออกเสียงชัดก็สามารถเข้าใจได้ เหมือนคนสิงคโปร์จะลงท้ายด้วยเสียง “ลา”  แต่แท้จริงแล้วเจ้าของภาษาค่อยไม่เข้าใจ เพราะคนไทยมักจะไม่ออกเสียงท้าย เช่น /th/ /r/  การที่จะสอนออกเสียงภาษาอังกฤษได้ชัดเหมือนเจ้าของภาษาได้ควรเรียนแบบ acquire คือกล้าพูดแบบไม่กลัวผิดถูก ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้เร็ว แต่ปัจจุบันผู้เรียนเรียนแบบ learning ทำให้ไม่กล้าพูด ถ้าเรา ดังนั้นเรื่อง สัทศาสตร์ (Phonetics) จึงจำเป็นต่อครูจะต้องเรียนรู้เพราะจะทำให้รู้ว่าในการออกเสียงแต่ละเสียงใช้อวัยวะอะไรบ้าง ครูสามารถฝึกการออกเสียงได้ เช่น การอ่าน English Tongue Twisters  และนอกจากนี้ครูต้องฝึกการเน้นเสียงระดับคำ ระดับประโยค  ทำนองของเสียง เพราะในการพูดภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงเมื่อเน้นคำเปลี่ยน ความหมายและอารมณ์ในภาษาก็จะเปลี่ยนไป ยิ่งไปกว่านั้นหากไม่ได้ออกเสียงบ่อยจะทำให้ออกเสียงผิด และครูสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักการออกเสียงได้โดย ผ่านภาพยนตร์ การ์ตูน หรือให้ผู้เรียนแสดงบทบาทสมมุติก็ได้
            จากการอบรมในช่วงบ่ายนี้ทำให้ได้เทคนิคการสอนคำศัพท์มากมายไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหาคำศัพท์ซึ่งจะต้องหยุดเล่นตามเวลาที่เหมาะสมเพื่อที่จะเกมกลับมาเล่นได้อีก  หรือการเล่าเรื่องราวที่มาของคำศัพท์ ในการสอนออกเสียงครูจะต้องมีความรู้เรื่องสัทศาสตร์เพื่อสามารถอธิบายที่มาของเสียงได้ ครูต้องหมันออกเสียงบ่อยๆเพื่อความแม่นยำและถูกต้อง ในการสอนให้ผู้เรียนออกเสียงสามารถนำสื่อเข้ามาช่วยได้เพื่อให้เห็นความแตกต่างของเสียง เพราะการออกเสียงก็เป็นส่วนที่สำคัญที่จะทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อสารได้มากยิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพูดภาษาอังกฤษคือ ต้องกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ โดยไม่กลัวว่าจะผิดไวยากรณ์เพราะชาวต่างชาติจะพยายามเข้าใจและแก้ไขให้เราได้พูดถูกต้องและสื่อสารได้ดีมากยิ่งขึ้น
           


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น